ดอกเบญจมาศ

                                   ดอกมัม หรือ ดอกเบญจมาศ ดอกไม้มงคล

 

             คริสแซนติมั่ม (Chrysanthemum) หรือที่เรารู้จักกันในนาม ดอกมัม หรือ ดอกเบญจมาศนั่นเองค่ะ เป็นดอกไม้อีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในการ จัดดอกไม้งานแต่งงาน และก็เป็นที่นิยมใช้ในการจัดงานต่างๆ อีกมากมาย เป็นดอกไม้ที่มากมายหลากหลายสีสันให้เลือกแล้วแต่คนชอบของแต่ละคน แล้วรู้หรือไม่ค่ะว่าเจ้าดอกชนิดนี้นั้นมีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีลักษณะเป็นอย่างไรมีกี่สี มีความหมายอะไรใช้แทนอะไรได้บ้าง ซึ่งวันนี้เราจะได้รู้กันค่ะ ถ้าอย่างนั้นอย่ามัวรอช้าเลย เราไปรู้จักกับเจ้าดอกสีสันสดใสนี้กันเลยดีกว่าค่ะ
                                         

ประวัติและความเป็นมาของ ดอกมัม 

ดอกมัม หรือ ดอกเบญจมาศ ถือได้ว่าเป็นดอกมงคลของประเทศจีนเลยก็ว่าได้ค่ะ แปลกใจหรือเปล่าค่ะ ว่าทำไมถึงเป็นดอกไม้มงคลของประเทศจีนได้ ก็อย่างที่เรารู้กันค่ะว่าประเทศจีนนั้นเป็นประเทศที่ชื่นชอบบทกวี การแต่งเพลง และถ้าบทเพลงหรือบทกวีที่มากจากนักปราชญ์ของชาวจีนชื่อดังนั้นได้มีการเผยแพร่และได้รับความนิยม จะทำให้ดอกไม้ในบทเพลง บทกวีนั้น กลายเป็นดอกที่จะได้รับความนิยมตามบทเพลงหรือบทกวีนั้นๆ ด้วย ซึ่งเจ้าดอกมัมนี้มีการปลูกขึ้นครั้งแรกที่ประเทศจีนและญี่ปุ่นค่ะ เมื่อเวลา 3,000 กว่าปีมาแล้วโดยปกติแล้วจะชอบแสงแดดจัด มีมากมายกว่า 100 สายพันธุ์ค่ะ บางสายพันธุ์นั้นก็มีกลิ่นหอมพอประมาณ แต่บางสายพันธุ์นี
กลิ่นแรงจนจากกลิ่นหอมกลายเป็นกลิ่นฉุนเลยละค่ะ

สีและความหมายของ ดอกมัม 

สีของ ดอกมัม นั้นจะมีมากมายหลายสีค่ะ ซึ่งแต่ละสีนั้นก็มีความสวยงามน่ารักไม่แพ้กันเลยละค่ะ วันนี้ก็จะขอยกตัวอย่างสีของดอกและความหมายตามสีของดอกมาให้ได้รู้จักกันพอหอมปากหอมคอกันสัก 3 สีนะค่ะ ไปเริ่มกันเลยค่ะ 
  • - ดอกสีแดง นั้นมีความหมายแสดงถึง ความรัก “การรักใคร่ชอบพอกันค่ะ”
  • - ดอกสีขาว นั้นมีความหายแสดงถึง ความซื่อสัตย์,ความจริง นิยมมอบให้กับเพื่อนๆค่ะ
  • - ดอกสีเหลือง นั้นมีความหมายแสดงถึง ความโชคดีค่ะ จึงนิยมที่จะมอบให้กับญาติผู้ใหญ่ของเราในการพบปะกันหรือนานๆเจอกันทีแบบนี้ค่ะ 
          ดอกมัมส่วนใหญ่ในประเทศไทยของเรานิยมใช้ในการจัดงานทุกชนิดค่ะไม่ว่าจะเป็นงานศพ, งานแต่งงาน, ซุ้มดอกไม้ ซึ่งในงานแต่ละงานก็จะใช้สีของดอกในงานนั้นแตกต่างกันไปค่ะ พูดง่ายๆ ก็คือเป็นดอกไม้ที่เป็นที่นิยมอย่างมากในการ จัดดอกไม้เพื่อใช้ในงานต่างๆ ในประเทศไทยบ้านเรา ไม่ว่าจะมองไปทางไหนที่มีการจัดงานก็มักจะเห็นดอกมัมอยู่ในงานนั้นเสมอๆ เลยค่ะ ถ้าเพื่อนสนใจก็ลองนำไปใช้ในงานของเพื่อนๆ ดูได้นะค่ะ และทางเราก็มีบริการนำดอกชนิดนี้มา จัดดอกไม้งานแต่งงาน เช่นกันค่ะ
    
           เบญจมาศเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็กที่มีดอกสีสันสดใสที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับกลางแจ้ง ใช้คลุมดินตามแนวทางเดินหรือริมรั้วเพราะเป็นต้นไม้ที่ชอบแดดแต่ก็สามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายใน อาคารได้ และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ก็สามารถออกดอกได้สวยงาม จึงเป็นที่นิยมนำมาเป็นไม้ประ ดับภายในเพื่อสร้างสีสันสดใสให้กับสถานที่ แต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าเบญจมาสเป็นไม้ประดับที่มีความ สามารถสูงมากในการดูดสารพิษภายในอาคาร
เบญจมาศเป็นไม้ขนาดเล็กสูงประมาณ 1 - 3 ฟุต ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนละเอียด ใบเรียวรี ขอบใบหยัก ใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อนๆทั่วทั้งใบ ดอกกลม กลีบใบจะซ้อนๆกันมีหลากหลายสี สีแดง สีบานเย็น สีขาว สีม่วง น้ำเงิน สีเหลืองเบญจมาศเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแดด ต้องการน้ำปานกลาง และความชื้นอย่างสม่ำ
เสมอ ดังนั้นเมื่อนำมาปลูกภายในอาคารจึงควรตั้งไว้ในที่ๆแสงแดดส่องถึง รดน้ำอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถ ออกดอกได้ตลอดทั้งปี
นอกจากดอกที่มีสีสันสดใส ทำให้บรรยากาศภายในสดชื่นสว่างไสว ชึ่งเป็นลักษณะเด่นของเบญจมาศแล้ว เบญจมาศยังเป็นไม้ประดับที่มีความน่าสนใจมาก อันเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการดูดสารพิษสูงมาก จำพวกสารพิษ ฟอร์มาดีไฮด์ เบนซีน และแอมโมเนีย จึงไม่ควรมองข้ามที่จะหาเบญจมาศมาปลูกในสำ นักงานหรือบ้านเรือน   
             
           
             เบญจมาศ มีดอกเป็นแบบ “head”ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก ดอกที่อยู่รอบนอกจะมีการเจริญเติบโตที่ดีกว่า มองเห็นกลีบดอกได้ชัดเจนกว่า เรียกว่า ray florets ซึ่งเป็นดอกแบบ imperfect คือมีแต่เกสรตัวเมียไม่มีเกสรตัวผู้ ดอกที่อยู่วงในเข้าไปและมีการเจริญเติบโตช้า มองเห็นกลับดอกไม่ชัดเจน เพราะมีกลีบดอกสั้น รวมกันอยู่เป็นกระจุกตรงกลางของดอก เบญจมาสเป็นไม้เนื้ออ่อน และเป็นพืชหลายฤดู แต่นิยมปลูกเป็นไม้ล้มลุก มีอายุ 90-150 วันและเป็นพืชไวต่อความยาวของวันหรือช่วงแสง  
       
           
                                                                       พันธุ์
     เบญจมาศ เป็นดอกประเภท Head ซึ่งเป็นดอกที่เกิดจากการรวมดอกย่อย 2 ชนิด คือ กลีบดอกชั้นนอก (Ray floret) ซึ่งเป็นดอกตัวเมีย ไม่มีเกสรตัวผู้ และกลีบดอกชั้นใน (Disk floret) ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เบญจมาศ แยกตามประโยชน์ใช้สอยและการปลูกปฏิบัติ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. Exhibition type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 1 เมตร ไม่มีการเด็ดยอดแต่ต้องเด็ดตาข้าง ทิ้งเพื่อให้เหลือดอกยอดเพียง 1 ดอก
2. Standard type มีดอกเล็กกว่าประเภท แรก ต้องเด็ดยอดเพื่อให้แตกกิ่งข้าง 3-4 กิ่ง และเด็ดดอกข้างทิ้งให้เหลือดอกยอดเพียงดอกเดียว นิยมใช้เป็นไม้ตัดดอก
3. Spray type เบญจมาศประเภทนี้เป็นประเภทที่มีหลายดอกต่อ 1 กิ่ง และมี 6-10 กิ่งต่อต้น ไม่มีการเด็ดดอกข้าง ดอกมีขนาดเล็กกว่าประเภท Standard type ใช้ปลูกเป็นไม้ตัดดอกหรือถอนขายทั้งต้นโดยตัดรากทิ้ง
4. Potted plant เบญจมาศประเภทนี้ใช้ปลูกเป็นไม้กระถาง มีทรงพุ่มกะทัดรัด ดอกดก และมีดอกขนาดเล็กแตกกิ่งก้านมาก 

                       
               ทั่ว โลกมีพันธุ์เบญจมาศอยู่กว่า 1000 พันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศส่วนใหญ่ จะเป็นประเภท Standard Type สีเหลืองและสีขาว ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันพันธุ์ที่นิยมปลูกในขณะนี้คือ พันธุ์ขาวการะเกด พันธุ์ขาวเมืองตาก และพันธุ์ TW12 (Pui Tsin-Shin) ซึ่งให้ดอกสีขาว พันธุ์เหลืองตาก พันธุ์เหลืองทอง พันธุ์เหลืองอินทนนท์ พันธุ์เหลืองเกษตร และพันธุ์ TW17 (Shin-Fan-Tsu-Ri) ซึ่งมีดอกสีเหลือง ในปัจจุบันมีการนำเข้าพันธุ์ใหม่ ๆ จากต่างประเทศเพื่อมาปลูกคัดเลือกพันธุ์อยู่เสมอ โดยเฉพาะพันธุ์ของเบญจมาศแบบ Spray Type ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของตลาดโลกมากขึ้น ดังนั้นเกษตรกรจึงควรสนใจติดตามข่าววคราวเกี่ยวกับพันธุ์ใหม่สำหรับนำไปปลูก เลี้ยง ทั้งนี้เนื่องจากพันธุ์ใหม่ มักมีราคาดอกสูงกว่าพันธุ์เดิม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ยินดีต้อนรับ